Route 2 Chiang Mai- Lampang -Chae Son- Doi Saket - Chiang Mai


....


Route 2 Chiang Mai- Lampang -Chae Son- Doi Saket - Chiang Mai



  พิกัด GPS     ละติจูด (N)    ลองจิจูด (E)  
   เชียงใหม่    

   18º 50’ 19.2”   

  98º 58’ 14.6”   

  ลำปาง      

  18º 17’ 35.5”   

 99º 30’ 14.3”  

   อุทยาานแห่งชาติแจ้ซ้อน   

  18º 50’ 7.9”  

  99º 28’ 6.8”  


   จากจังหวัดเชียงใหม่ใช้เส้นทางหมายเลข 11 ผ่านจังหวัดลำพูนเข้าจังหวัดลำปางจากนั้นใช้เส้นทางสาย 1157 ก่อนถึงอำเภอเมืองปาน แยกขวาตามเส้นทาง 1252 ไปอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนออกจากแจ้ซ้อนเลี้ยวซ้ายออกเส้นทางเดิม จนถึงแยกบ้านปางแดง เลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางสาย 118 ผ่านอำเภอดอยสะเก็ดเข้าสู่จังหวัดเชียงใหม่

    จังหวัดลำปางมีโรงแรมและเกสต์เฮาส์ให้พักมากมายหลายราคา  อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนโทร. 0-5438-0000, 08 9851-3355 หรือติดต่อสำนักอุทยานแห่งชาติกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชโทร. 0-2562-0760, www.dnp.go.th หรือโทร. 1672, www.tourismthailand.org

    ข้าวหนึกงา (ข้าวเหนียวงา) อาหารกินเล่นของชาวลำปาง ยำไก่ใส่หัวปลี  ลาบ  ยำไข่น้ำแร่  ข้าวแต๋น

        ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้เซรามิรถม้าแบบย่อส่วนที่มีความประณีตละเอียดอ่อน  สร้างให้ขยับเขยื้อนได้  หมูยอ   แหนม  แคบหมู  น้ำพริกหนุ่ม  ไส้ถั่ว

        เส้นทางนี้ใช้เวลา 3 วัน 2 คืนคืนแรกพักที่ตัวเมืองลำปางคืนที่ 2 พักที่อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

     ฤดูที่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวและมีอากาศเย็นสบายคือช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์

        เริ่มที่จังหวัดเชียงใหม่ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคน 3,500 บาท


          ประสบการณ์ 5  สัมผัสพระธาตุลำปางหลวงคุณจะได้เห็นพระธาตุกลับหัวภายในซุ้มพระบาทและคนที่เกิดปีฉลพลาดไม่ได้ต้องไปสักการะพระธาตุลำปางหลวงตามคติความเชื่อของการไหว้พระธาตุปีเกิดทุกปีจะมีงานนมัสการพระแก้วดอนเต้าในวันเพ็ญเดือน 12

ชุมชนท่ามะโอ 

     อยู่ทางฝั่งเหนือของสะพานข้ามแม่น้ำวัง บริเวณสะพานเขลางค์ชุมชนเก่าแก่ของเมืองลำปางตั้งแต่สมัยที่ชาวพม่าเข้ามาทำการค้าไม้สักกับชาวอังกฤษ บ้านเก่าแก่คือ บ้านเสานักบ้านไม้สักโบราณอายุ 115 ปี

ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย  

     อยู่ในความดูแลของกองทำไม้ภาคเหนือ  องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เป็นสถานที่ฝึกลูกช้างแห่งเดียวในประเทศไทย มีการแสดงช้างเข้าแถวช้างทำงานช้างทักทายแสดงวันละ 3 รอบ 10.00น. 11.00 น.และ13.30น.

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน 

เป็นอุทยานที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเพราะสามารถเดินทางมาได้ตลอดปีช่วงที่เหมาะสมและสวยที่สุดคือช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์

บ่อน้ำร้อนแจ้ซ้อน 

    แหล่งน้ำพุร้อนที่มีสภาพการเกิดทางธรณีวิทยา มีกลิ่นกำมะถันอ่อนมีทั้งหมด 9 บ่อตั้งอยู่รวมกันในบริเวณที่ทำการอุทยานนอกจากนี้ยังมีบ่อน้ำอุ่นที่อุณหภูมิพอเหมาะกับการแช่หรืออาบ

น้ำตกแจ้ซ้อน 

    น้ำตกมีทั้งหมด 6 ชั้น  มีน้ำไหลตลอดทั้งปี  มีแอ่งนำรองรับอยู่ตลอดสาย  อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยาน 1 กิโลเมตร  มีทางเดินในสะดวกและสามารถเดินจากบ่อน้ำพุร้อนไม่มีน่าตกได้

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้  

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์การพัฒนาห้วยฮ่องไคร้  เพื่อศึกษาด้านการพัฒนาป่าไม้และด้านการเกษตรที่เหมาะกับบริเวณต้นน้ำลำธารของภาคเหนือ  ในศูนย์ฯ แห่งนี้ประกอบด้วยงานศึกษาและพัฒนาแหล่งน้ำ  ปศุสัตว์และโคนม  ประมง  งานปลูกหญ้าแฝก  และการดำเนินงานหมู่บ้านรอบบริเวณศูนย์ฯ ห้วยฮ่องไคร้นับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ  และศึกษาเกี่ยวกับนิเวศวิทยาได้เป็นอย่างดี